การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ปีงบประมาณ 2563

1 กรกฎาคม 2563
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

จากการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปีของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริตในการปฏิบัติงานนั้น ผลสรุป เรื่อง กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ ถูกจัดเป็นอันดับที่ 1 ที่จะก่อให้เกิดการทุจริตในการปฏิบัติงาน ซึ่งพบว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557 นั้นมีความเสี่ยงสูงสุด
 
ซึ่งในปี 2563 พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลห้วจรเข้เคร่งครัดปฏิบัติตามมาตรการใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้พนักงานอบต.เข้ารับการอบรม
 
ในการมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และสอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมโปร่งใสตรวจสอบได้สงวนไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวมมีเหตุผลในการใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้พนักงานอบต.เข้ารับการอบรมตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงมีแนวทางในการปฏิบัติงานดังนี้
 
1. ผู้บริหารและพนักงานอบต.ทุกระดับต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๗ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 
2. ผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่พิจารณาให้เข้ารับการอบรม  
3. การขออนุมัติเข้ารับการอบรมต้องมีรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรระบุเหตุที่มาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามระดับชั้น 
4. การพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจแบ่งเป็นกรณีดังนี้ 
4.1 กรณีร้องเรียนโต้แย้งดุลพินิจของอบต. (ไม่ว่าจะระบุตัวพนักงานหรือไม่ก็ตาม) ให้สำนักกอง, ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการและหรือมีหนังสือตอบผู้ร้องโดยตรงทั้งนี้หากผู้ร้องไม่เห็นด้วยเรื่องก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ 
4.2 กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับใช้อำนาจ, การปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง (ไม่ว่าจะระบุตัวพนักงานหรือไม่ก็ตาม) ให้อบต.ตั้งคณะกรรมกรรมขึ้นมา ๑ ชุดเพื่อเป็นคณะทำงานสอบถามหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วจึงสรุปผลการพิจารณาเสนอต่อผู้บริหารเพื่อหาข้อยุติเรื่องหากเห็นว่าเรื่องร้องเรียนมีประเด็นที่ควรพิจารณาความผิดทางวินัยให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก ๑ ชุดเพื่อพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง 
ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!