เกี่ยวกับ อบต.

ประวัติความเป็นมาของตำบลห้วยจรเข้

               แต่ดั้งเดิมมาตำบลห้วยจรเข้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา

คนพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำสวน ซึ่งตำบลห้วยจรเข้จะมีคลองน้ำไหล

ผ่านโดยมีต้นน้ำไหลมาจากจังหวัดกาญจนบุรี  จึงทำให้พื้นที่ตำบลห้วยจรเข้อุดมสมบูรณ์ 

มีสัตว์น้ำตามธรรมชาติจำนวนมาก รวมถึงมีจรเข้ชุกชุมจนมีการตั้งชื่อคลองน้ำดังกล่าวว่า

คลองจรเข้น้อย  ต่อมามีการแบ่งเขตการปกครองและปัจจุบันได้ตั้งชื่อคลองน้ำที่ไหลผ่าน

พื้นที่ตำบลห้วยจรเข้ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อ คลองชัยพฤกษ์ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับคลองจรเข้น้อย

               โดยตำบลห้วยจรเข้ในอดีตมี 7 หมู่บ้าน แต่หมู่ที่ 2 เข้าเขตเทศบาล จึงทำให้ใน

ปัจจุบันเหลือเพียง 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านไผ่เตย, หมู่บ้านทุ่งอีซ่วย, หมู่บ้านสวนผัก,

หมู่บ้านสวนใหม่, หมู่บ้านโคกมะขาม, หมู่บ้านหลังวัดใหญ่

 

ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

               ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโดยที่

มาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน

ตำบล พ.ศ. 2533 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลและให้โอนบรรดา

งบประมาณทรัพย์สินสิทธิสิทธิเรียกร้องหนี้และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็น

ขององค์การบริหารส่วนตำบลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงให้สภาตำบล

ต่อไปนี้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้มีชื่อตามตำบลที่องค์การบริหาร

ส่วนตำบลนั้นตั้งอยู่คือ (453) สภาตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 

เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้   

ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539

บรรหาร  ศิลปอาชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

(อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539)

 

วิสัยทัศน์

    “ ตำบลน่าอยู่ เทคโนโลยีก้าวหน้า การศึกษาดี มีคุณธรรม นำพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ”

พันธกิจ

    1. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    2. ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

    3. ส่งเสริมการพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

    4. บริหารจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    5. บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

    6. สร้างและปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านไผ่เตย 186 227 227 454 คน
หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งอีซ่วย 1,017 996 1,085 2,081 คน
หมู่ที่ 4 บ้านสวนผัก 107 151 161 312 คน
หมู่ที่ 5 บ้านสวนใหม่ 265 278 313 591 คน
หมู่ที่ 6 บ้านโคกมะขาม 640 611 636 1,247 คน
หมู่ที่ 7 บ้านหลังวัดใหญ่ 276 199 236 435 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไป

    องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ 99/1 หมู่ที่ 3

ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ทิศใต้ของอำเภอเมืองนครปฐม

ห่างจากตัวอำเภอเมืองนครปฐม 3 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัด 5 กิโลเมตร ห่างจาก

กรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง 64 กิโลเมตร พื้นที่ 4.40 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,750 ไร่

    องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและ

มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและ

องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539

โดยมีนายสุนทร โง้วธนารมย์  กำนันตำบลห้วยจรเข้ เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง)

เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรก    

    ที่ตั้ง

    ทิศเหนือ          ติดต่อกับ    เทศบาลนครนครปฐม                     

    ทิศใต้              ติดต่อกับ    ตำบลถนนขาดและตำบลสนามจันทร์                 

    ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ    ตำบลพระประโทนและตำบลถนนขาด       

    ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ    ตำบลสนามจันทร์

ลักษณะภูมิประเทศ

    องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองชลประทานไหลผ่าน

หมู่บ้าน มีแหล่งน้ำธรรมชาติเหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งการค้า

มี 3 ฤดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)

ลักษณะภูมิอากาศ

    ลักษณะอากาศของพื้นที่จังหวัดนครปฐมขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล

2 ชนิด ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้ง จากประเทศจีน

ปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดนครปฐมมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป

กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศขึ้นจากทะเลและมหาสมุทรปกครอง

ประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ทำให้จังหวัดนครปฐมมีฝนตกทั่วไป

    ฤดูกาล พิจารณาตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย แบ่งฤดูกาลของพื้นที่

อบต. ห้วยจรเข้ ออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

    ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออก

เฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุม

ประเทศไทยในช่วงนี้แต่เนื่องจากจังหวัดนครปฐมอยู่ในภาคกลางอิทธิพลของบริเวณ

ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมในช่วงฤดูหนาวจะช้ากว่าภาคเหนือและ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าสองภาคดังกล่าว โดยเริ่มมีอากาศหนาว

ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป

    ฤดูร้อน เริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลง คือ ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลาง

เดือนพฤษภาคม ในระยะนี้จะมีหย่อมกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปโดยเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดใน

รอบปี จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40

องศาเซลเซียสขึ้นไป

    ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้

พัดปกคลุมประเทศไทยร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย

จะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือเป็นลำดับในระยะนี้ทำให้มีฝนตกชุกขึ้น

ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปีและ

เป็นช่วงที่มีความชื้นสูง คือ เดือนกันยายน 

ลักษณะของแหล่งน้ำ

    แหล่งน้ำธรรมชาติ

    คลอง จำนวน 3 คลอง ได้แก่ คลองชัยพฤกษ์ คลองท่าผา-บางแก้ว และคลองจรเข้น้อย โดยมี

ความยาวทั้งหมดของคลองที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ จำนวน 6 กิโลเมตร

ลักษณะของไม้และป่าไม้

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็น

ไม้ยืนต้น ผลัดใบ 

การเมือง/การปกครอง

    องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน

แต่ละหมู่บ้านมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของ

องค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง 

มีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการย้ายเข้า ย้ายออกช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

สมาชิกสภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหา

ขององค์การบริหารส่วนตำบล คือ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล

ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุม

ประชาคมท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดทำแผนพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบล จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น

มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหาร-

ส่วนตำบลดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วม

ในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดโครงการอบรม

ศึกษาดูงานของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล กลุ่มสตรี

และโครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมา

พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ และ

องค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและ

มีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลัง

พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน

ในด้านบริการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้

1. เขตการปกครอง

    จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้  มีจำนวนทั้งสิ้น 6  หมู่บ้าน  ได้แก่

    หมู่ที่  1  บ้านไผ่เตย           นายณัฐ            วิบุลศิลป์            กำนันตำบลห้วยจรเข้

    หมู่ที่  3  บ้านทุ่งอีซ่วย        นายธีรพงศ์       ชาวนาฟาง          ผู้ใหญ่บ้าน

    หมู่ที่  4  บ้านสวนผัก          นายพรเชษฐ      สันติภาพชัย        ผู้ใหญ่บ้าน

    หมู่ที่  5  บ้านสวนใหม่        นางสาวพรทวี     ค้าทวี                  ผู้ใหญ่บ้าน

    หมู่ที่  6  บ้านโคกมะขาม     นายนพฤทธิ์        นิมิตโภคานันท์     ผู้ใหญ่บ้าน

    หมู่ที่  7  บ้านหลังวัดใหญ่    นางทิพวรรณ      ใจดี                      ผู้ใหญ่บ้าน

2. การเลือกตั้ง

    องค์การบริหารส่วนตำบลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ 

ทั้งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง องค์การบริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 คน โดยแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 6 เขต

มีหน่วยเลือกตั้งรวม 7 หน่วย แยกเป็น

    1) เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 1 หน่วย ประกอบด้วย

        -  หน่วยเลือกตั้งที่  1   หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 4 บริเวณที่ทำการสมาคมผู้สูงอายุ

    2) เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 2 หน่วย ประกอบด้วย

        -  หน่วยเลือกตั้งที่ 2 หมู่ที่ 3 ปะรำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยจรเข้

        -  หน่วยเลือกตั้งที่ 3 หมู่ที่ 3 บริเวณหน้าที่ทำองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

    3) เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 1 หน่วย ประกอบด้วย

        -  หน่วยเลือกตั้งที่  4  หมู่ที่ 5 ปะรำบริเวณที่ทำการสวนสุขภาพ

    4) เขตเลือกตั้งที่  5  จำนวน  1  หน่วย  ประกอบด้วย

        -  หน่วยเลือกตั้งที่ 1  หมู่ที่  6,7 บริเวณลานแอโรบิค

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ระบบเศรษฐกิจ

 1. การเกษตร

    ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพรับจ้าง อาชีพค้าขาย

เป็นต้น ส่วนการเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำสวนผัก ดังนี้

    -  อาชีพเกษตรกรรม    ร้อยละ            5   ของจำนวนประชากรทั้งหมด        

    -  อาชีพเลี้ยงสัตว์       ร้อยละ            5   ของจำนวนประชากรทั้งหมด     

    -  อาชีพรับจ้าง           ร้อยละ          70   ของจำนวนประชากรทั้งหมด     

    -  อาชีพค้าขาย          ร้อยละ           20   ของจำนวนประชากรทั้งหมด  

2. การประมง

    (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีการประมง)   

3. การปศุสัตว์

    - เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น

การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร เลี้ยงปลา เป็นต้น

4. การบริการ

    โรงแรม/รีสอร์ท       1      แห่ง

    ร้านอาหาร             1      แห่ง

5. การท่องเที่ยว

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น

ในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ 

6. อุตสาหกรรม

    - โรงงานทำท่อ                                   จำนวน              1      แห่ง

    - โกดังเก็บสินค้า                                 จำนวน              4      แห่ง

    - อู่ซ่อมรถ                                          จำนวน             5      แห่ง

    - โรงงานเหล็ก                                    จำนวน              1      แห่ง

    - โรงงานประกอบรถเข็น                         จำนวน             1      แห่ง

    - โรงงานผลิตเครื่องดื่ม                          จำนวน             1      แห่ง

    - โรงงานผลิตแหนม                              จำนวน             1      แห่ง

    - ฟาร์มหมู                                          จำนวน             2      แห่ง

    - โรงงานผลิตวงกบ                              จำนวน              1      แห่ง

    - โรงงานบรรจุผักผลไม้ต่างประเทศ          จำนวน              2      แห่ง

    - โรงงานเย็บผ้า                                   จำนวน              2      แห่ง

    - โรงงานทำตู้หยอดเหรียญ                     จำนวน              1      แห่ง

    - โรงเย็บมุ้ง                                        จำนวน              1      แห่ง

    - โรงกลึง                                           จำนวน              1      แห่ง

    - โรงงานลูกชิ้น                                    จำนวน              1      แห่ง

    - ปั้มน้ำมันหลอด                                  จำนวน              2      แห่ง

    - โรงทำอิฐบล็อก                                  จำนวน              2      แห่ง

7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

    การพาณิชย์

    ธนาคาร                     -      แห่ง   สถานีบริการน้ำมัน              -      แห่ง

    บริษัท                       5      แห่ง   ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า  -     แห่ง

    ห้างหุ้นส่วนจำกัด         2      แห่ง   ตลาดสด                          -     แห่ง

    ร้านค้าต่างๆ               32     แห่ง   โรงฆ่าสัตว์                        1    แห่ง

    ซุปเปอร์มาเก็ต             2     แห่ง

    กลุ่มอาชีพ

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีกลุ่มอาชีพ

8. แรงงาน

    จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 95

เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ 73.99 ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่า

ระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน

ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ

ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ

เพราะในพื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย

สภาพทางสังคม

1. สาธารณสุข

    จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพ

ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน

โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษา-

พยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา

คือ องค์การบริหารส่วนตำบลและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฯ ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกัน

รณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือ

เป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

    สำหรับเด็กแรกเกิด - 6 ปี ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจ

ข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วย

ที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ

ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฯ เพื่อแก้ไขปัญหา 

    (1)  หน่วยงานด้านสาธารณสุข

          -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฯ ในเขตพื้นที่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

              จำนวน 1 แห่ง    

2. อาชญากรรม

    ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายทรัพย์สิน

ของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการ

สำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัย

ในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามี 9 ครัวเรือน ที่ไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุ

อาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สามารถดำเนินการได้ตาม

อำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้ง

ได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ

ประชาชน การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ เพื่อระงับเหตุ

ไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้

ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไข

ปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้   

3. ยาเสพติด

    ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธร

อำเภอเมืองนครปฐมได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้นพบว่าในเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า

เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของ

องค์การบริหารส่วนตำบลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของ

องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์

การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่

ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ให้ความร่วมมือ

มาโดยตลอด 

4. การสังคมสังเคราะห์

    องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

    (1) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 

    (2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

    (3) ตั้งโครงการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน 

สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

การศึกษา

    จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15 – 60 ปีเต็ม ร้อยละ 99 อ่าน เขียน

ภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6 – 14 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ 99

ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้

การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ

    การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน 

สังกัด

สพฐ.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

           - จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก

           - จำนวนผู้ดูแลเด็ก

           - จำนวนนักเรียน

-

1 แห่ง

2  คน

2  คน

73  คน

 

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

    1. การนับถือศาสนา

       -  ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100

          สำนักสงฆ์  1    แห่ง

    2. ประเพณีและงานประจำปี

        1) ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน ของทุกปี

        2) ประเพณีถวายเทียนเข้าพรรษา ประมาณเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

        3) ประเพณีลอยกระทง  ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

    3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

        ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ 99% พูดภาษาไทย

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

ระบบบริการพื้นฐาน

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีระบบบริการพื้นฐาน  ดังนี้

1. การไฟฟ้า

    การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้า

ส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่

ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบล

จึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ

ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนใน

    พื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ตั้ง

งบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะ

ได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีไฟฟ้าใช้  ดังนี้

    (1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 2,111 หลังคาเรือน

    (2) ไฟฟ้าสาธารณะ ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

2. การประปา

    การประปา องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง

สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ และไม่มีแหล่งน้ำดิบในการผลิตประปา

ต้องขอใช้จากพื้นที่อื่นทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถ

ที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ ปัจจุบัน

องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิต

ประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที

การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น เช่น โครงการก่อสร้าง

โรงสูบจ่ายสารเคมีและเก็บสารเคมีการประปา ฯลฯ  

3. โทรศัพท์

    (1)  จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่     จำนวน    11    หมายเลข

    (2)  จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล                   จำนวน    55    หมายเลข

    (3)  จำนวนชุมสายโทรศัพท์จำนวน               จำนวน     1    ชุมสาย

4. ไปรณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

    (1)  มีไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง  ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น.  ในวันจันทร์ – เสาร์

          (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์ อยู่ในตัวอำเภอเมืองนครปฐม 

    (2)  มีท่ารถขนส่งในตัวอำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 1 แห่ง ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน

5. เส้นทางคมนาคม

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็น

ถนนคอนกรีต ร้อยละ 70 เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้หรือร้อยละ 100 โดยผู้บริหาร

มีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตทุกสาย ปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบล

ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังไม่เป็นที่สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล

จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล ปัจจุบัน

องค์การบริหารส่วนตำบลมีเส้นทางคมนาคม ดังนี้

    (1)  การคมนาคม  การจราจร

 เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้

ระบบขนส่งทางบก  

          รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม

(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ผ่านตำบลอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม

หรือเส้นทางสายใหม่จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี

ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม ระยะทาง 56 กิโลเมตร

          รถไฟ

          การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ และสถานีรถไฟธนบุรี

ทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

          ถนนของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

          สภาพถนน  คอนกรีต   จำนวน        17    สาย   ระยะทาง  5,210.50  กม.

                ลาดยาง   จำนวน          3    สาย   ระยะทาง  253  กม.

                          ลูกรัง      จำนวน          3    สาย   ระยะทาง  600 กม.

ทรัพยากรธรรมชาติ

    1. น้ำ  ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากคลองต่างๆ

ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

    2. ป่าไม้  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีป่าไม้

    3. ภูเขา  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีภูเขา

    4. คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

        ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า 

สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะทรัพยากรธรรมชาติ

ในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วน

เป็นดินเหนียว น้ำใต้ดินก็เค็ม  หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้

ในการอุปโภค-บริโภคได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และน้ำฝน น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน

มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร

ได้เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน เอกชน ปัญหาด้านขยะ เมื่อชุมชนแออัดขยะ

ก็มากขึ้น การแก้ไขปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับ

ประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน เช่น โครงการจัดหาถังขยะรองรับขยะ

ให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะ

รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของเมืองให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

ของประชาชน ฯลฯ